ภาษาเหนือเป็นภาษาที่มีเอกลักษณ์พูดตามได้ง่าย มีทั้งความน่าฟัง ไพเราะอ่อนหวาน นิ่มนวล แต่บางครั้งก็ดูตลกๆนะคะ ซึ่งสอนอู้กำเมืองวันนี้ เราจะมาสอนคำว่า แกน แก่นและ แก๋น จะมีความหมายว่าอะไรกันบ้างไปชมพร้อมๆกันเลยค่ะ
ซึ่งถ้าเอาไว้พูดประกอบกับอวัยวะส่วนใหนแปลว่าเรากำลังบอกคนอื่นว่าเรารู้สึกเสียด หรือเจ็บแปล็บๆที่ส่วนนั้น เช่น
แกนต้อง คำว่า แกนต้อง หมายถึง อาการเสียดท้อง หรือเสียวแปร๊บๆที่ท้อง แกนหู หมายถึงเสียดหู แกนหลัง ก็หมายถึงเสียดหลังนั่นเองค่ะ
ดังตัวอย่างเช่น
- แกนต้องขนาด ..แปลว่า .. เสียดท้องมากเลย
- บ่าต้องอู้ละปอแล้วฟังละ มันแกนหู ..แปลว่า ..ไม่ต้องพูดละ พอแล้วฟังแล้วมันเสียดหู
- ตุ๊บหลังหื้อกำลอแกนหลังขนาด ..แปลว่า ..ทุบหลังให้หน่อยสิ เสียดหลังมากเลย เป็นต้นค่ะ
ซึ่งถ้าเอาไว้พูดประกอบกับอวัยวะส่วนไหนแปลว่าเรากำลังบอกคนอื่นว่าเรารู้สึกเสียด หรือเจ็บแปล็บๆที่ส่วนนั้น
แต่ถ้าเพื่อนๆได้ยินคำว่า แก๋น แล้วล่ะก็มันจะหมายถึง โชคไม่ดี ติดขัดหรือมีอะไรมาขัดขวางความเจริญ เช่น วันนี้ขายของบ่าดีเลย แก๋นบ่าหยังก่อบ่าหู้ ที่แปลว่า วันนี้ขายของไม่ดีเลย ติดขัดอะไรก็ไม่รู้
ส่วนถ้าเพื่อนๆได้ยินคำว่า แก่น มันจะหมายถึง ลูก หรือ แน่น โดยคำว่า ลูกในที่นี่คือลูกผลไม้นะคะ เช่น เอาบะโอมาหื้อแก่นลอ ..แปลว่า ..เอาส้มโอมาให้ลูกหนึ่งสิ หรือ เอาบ่าเต้า 2 แก่นเจ้า ..แปลว่า..เอาแตงโม 2 ลูกค่ะ
ส่วนคำว่าแก่น ที่หมายถึงแน่น ส่วนใหญ่จะใช้กับสิ่งของต่างๆ เช่น ซื้อของกิ๋นมาหนา ก่ายขนาด เขามัดถุงแก่นแก๊กละจะแกะจะไดนิ ..แปลว่า .. ซื้อกับข้าวมานะ เบื่อมากเลย เขามัดแน่นไปหมดแล้วจะแกะยังไงล่ะเนี่ย เป็นต้นนะคะ
คลิปภาษาเหนือ แก่น ,แก่น,แก๋น
ถ้าเพื่อนๆอยากรู้ภาษาเหนือเพิ่มเติม สามารถหาดูได้จากวิดีโอหลากหลายที่นี่ได้เลยนะคะ หรือถ้าอยากรู้ความหมายคำไหนเป็นพิเศษก็สอบถามกันเข้ามาได้ค่ะ ขอให้เพื่อนๆสนุกกับการอู้กำเมืองนะคะ สวัสดีค่ะ