สวัสดีค่ะเพื่อนๆสอนอู้กำเมือง วันนี้จะมาสอนเพื่อนๆเรียกเครื่องแต่งกายให้เป็นภาษาเหนือกันค่ะ เครื่องแต่งกายนั้นมีด้วยกันหลายประเภท บางประเภทก็เรียกคล้ายๆภาษากลางแต่ บางประเภทก็เป็นคำเฉพาะของชาวเหนือนะคะ จะมีอะไรกันบ้าง ไปดูพร้อมๆกันเลยค่ะ
เครื่องแต่งกาย ภาษาเหนือ คือ
- กุ๊บ..แปลว่า..หมวก
- แว่นต๋า..แปลว่า..แว่นตา
- จี้หู ,ด๊อกหู..แปลว่า..ต่างหู
- เสื้อแขนกึ่ง..แปลว่า..เสื้อแขนสั้น
- เสื้อแขนยาว..แปลว่า..เสื้อแขนยาว
- เสื้ออุ่น..แปลว่า..เสื้อกันหนาว
- เต่ว..แปลว่า..กางเกง
- เต่วขากึ่ง..แปลว่า..กางเกงขาสั้น
- เต่วขายาว..แปลว่า..กางเกงขายาว
- เต่วใน..แปลว่า..กางเกงใน
- เกิบ..แปลว่า..รองเท้า
- เกิบกีบ..แปลว่า..รองเท้าแตะคีบ
- เกิบซุก..แปลว่า..รองเท้าแตะที่ไม่มีที่คีบ
- เกิบก๊อบแก๊บ,เกิบเก๊าะแก๊ะ..แปลว่า..รองเท้าที่มีส้น
- เกิบผ้าใบ..แปลว่า..รองเท้าผ้าใบ
- เกิบปุด..แปลว่า..รองเท้าขาด
- ถุงตี๋น..แปลว่า..ถุงเท้า
สรุป การสวมใส่เครื่องแต่งกายเหล่านี้ ภาษาเหนือก็จะมีคำเรียกที่แตกต่างกันนิดหน่อยค่ะ
เช่น การสวม ภาษาเหนือจะเรียกว่า สุ๋บ เช่น สุ๋บกุ๊บเหียก่อนมันฮ้อนเดวหน้าม้านหนา..แปลว่า.. สวมหมวกเสียก่อน มันร้อนเดี๋ยวหน้าคล้ำนะ หรือ วันนี้จะไปสมัครงานหื้อสุ๋บเกิบผ้าใบไปเอาเน้อ บ่าดีสุ๋บเกิบกีบไปหนา เดวเปิ้นจะหาว่าเฮาบ่าหู้ฟ้า..แปลว่า..วันนี้จะไปสมัครงานให้สวมรองเท้าผ้าใบไปเอานะ อย่าสวมรองเท้าแตะคีบไปล่ะ เดี๋ยวเขาจะหาว่าเราไม่รู้กาลเทศะ
การสวมเสื้อหรือกางเกง ภาษาเหนือจะเรียกใส่ เช่น บะเด่วนี้มันหนาว ใส่เสื้ออุ่นตวยหนาเดวเม่ยมามันจะอิด เปิ้นเป็นห่วง ..แปลว่า.. ตอนนี้มันหนาว ใส่เสื้อกันหนาวด้วยนะ เดี๋ยวไม่สบายมามันจะเหนื่อย ฉันเป็นห่วง หรือ ไปแอ่วงานก่อใส่เต่วหื้อมันดีๆหน่อยก่า มันปุดก้นฮั้นน่ะ บ่าหันกา อายเปิ้น ..แปลว่า..ไปเที่ยวก็ใส่กางเกงให้มันดีๆหน่อยสิ มันขาดตรงก้นน่ะไม่เห็นเหรอ อายเขา เป็นต้นค่ะ