อาชีพในสังคมไทยเรานั้นมีหลากหลายอาชีพ แต่ละอาชีพก็จะมีลักษณะพิเศษในการเรียกที่ต่างกันออกไป บางอาชีพ ทางเหนือเราก็จะเรียกแบบเดียวกับคนภาคอื่นๆ แต่อาจจะเรียกด้วยสำเนียงทางภาคเหนือ แต่บางอาชีพก็มีคำเรียกพิเศษที่เรียกไม่เหมือนกับภาคอื่นๆ ซึ่งวันนี้เราจะมาเรียนรู้การเรียกชื่ออาชีพทั้งหมดที่ได้ใช้ในชีวิตประจำวันกันค่ะ
ชื่อเรียกอาชีพในภาษาเหนือ(เชียงราย)
แต่ก่อนที่จะเข้าเนื้อเรื่องขออธิบายเบื้องต้นก่อนนะคะ ว่า คำที่เรียกเหมือนกันแต่สำเนียงต่างกัน เช่น นางแบบ ภาษาเหนือก็เรียกนางแบบ อย่างนี้เราจะไม่ขอยกมานะคะ โดยชื่อเรียกอาชีพต่างๆ ได้แก่
- ป้อก้า ..หมายถึง.. พ่อค้า
- แม่ก้า ..หมายถึง.. แม่ค้า
- ต๋ำหนวด ..หมายถึง.. ตำรวจ
- ตะหาน ..หมายถึง.. ทหาร
- สล่า ..หมายถึง.. นายช่าง
- สล่าเก๊า ..หมายถึง.. นายช่างใหญ่
- จั้งฟ้อน ..หมายถึง.. นางรำ หรือ ช่างฟ้อน
- ขะโยม ..หมายถึง.. เด็กวัด
- ปู่จ๋าน ..หมายถึง.. มัคทายก
- ก๋ำนัน ..หมายถึง.. กำนัน
- แก่บ้าน,ป้อหลวงบ้าน ..หมายถึง.. ผู้ใหญ่บ้าน
- จาวไฮ่ จาวนา ..หมายถึง.. ขาวไร่ ชาวนา
- ตุ๊เจ้า ..หมายถึง.. พระ
- ตุ๊ปี่ ..หมายถึง.. หลวงพี่
- ตุ๊ป้อ ..หมายถึง.. หลวงพ่อ
- ตุ๊ลุง ..หมายถึง.. หลวงลุง
- คนจ่อมเบ็ด ..หมายถึง.. นักตกปลา
- จั้งหยิบผ้า ..หมายถึง.. ช่างเย็บผ้า
- นักฮ้อง ..หมายถึง.. นักร้อง
- ฮับจ้าง ..หมายถึง.. รับจ้าง
- คู ..หมายถึง.. ครู
ส่วนใครที่ยังงงๆ และอยากรู้ว่าออกเสียงกันยังไงนะคะสามารถคลิกที่นี่ หรือดูจากคลิปด้านล่างนี้ได้เลยนะคะ แต่ขอบอกเอาไว้ก่อนนะคะว่า ภาษาเหนือที่เราใช้ในคลิปหรือเว็บทั้งหมดของเราจะเป็นภาษาเหนือในสำเนียงของจังหวัดเชียงรายค่ะ ขอให้เพื่อนๆสนุกกับการอู้กำเมือง สวัสดีค่ะ