อี้เล่าะ แปลว่า
ภาษาเหนือ คำอุทาน
- By : Admin
- Category : ฝึกภาษาเหนือ
- Tags: ภาษาเหนือ
ภาษาเหนือ หรือ คำเมือง เป็นภาษาท้องถิ่นทางภาคเหนือ ที่คนทางเหนือมักจะใช้พูดสือการต่อกัน คนพื้นที่อื่นๆเมื่อได้ฟังภาษาเหนือแล้ว จะรู้สึกถึงความไพเราะ อ่อนหวาน น่าฟัง จึงมีคนสนใจอยากเรียนรู้ภาษาเหนือ กันอยู่มาก ใครอยากพูดภาษาเหนือเป็น ไม่ว่าจะใช้สื่อสาร หรือเอาไว้พูดเล่นๆกับเพื่อน ถ้าไม่อยากเอ๊าท์ มาเรียนภาษาเหนือกับเราค่ะวันนี้ จะมาสอน ถึง คำอุทาน ในภาษาเหนือ อย่างเช่น เวลาที่เราตกใจ ดีใจ เรามักจะเผลออุทานคำเหล่านั้นออกมา และคำเหล่านั้นคือ
ภาษาเหนือ คำอุทาน
- โป๊ดโท๊ะ..แปลว่า..โอ้โห
- ทำโมสัง โฆ..แปลว่า..โธ่ -ถัง หรือ อพิโธ่ อพิถัง
- เอ่อ นั่นเต๊อะ..แปลว่า..ให้ตายสิ
- เอ้อ..เฮ้ย.. เป็นคำอุทานเวลาพลาด หรือสูญเสียไป คำหมายเหมือนรู้สึกเสียดาย
- อ๋อ..ฮ้อย–..เป็นคำอุทานเมื่อเกิดความสงสาร เวทนา หรือเอ็นดู
- โค๊ะ..เป็นคำอุทาน ความหมายประมาณเดียวกับคำว่า โห อะไรกันนี่
- แอ่นแล่ะ..เป็นคำแซว ใช้ตอนที่คนอื่นแสดงความสามารถอันยอดเยี่ยมออกมาความหมายแนวๆ นั่นแน่
- ฮานิบ่าเฮ่ย..แปลว่า..ปั๊ดโธ่เอ้ย โธ่เว้ย ส่วนใหญ่ผู้ชายใช้
- ฮานิอิเฮ้ย..แปลว่า..ปั๊ดโธ่เอ้ย โธ่เว้ย ส่วนใหญ่ผู้หญิงใช้
- เคิ้ว..เป็นคำอุทานเวลาไม่ค่อยเห็นด้วยความหมายคล้ายๆกับคำว่า เหอะๆ
- อัลลันล้า..เป็นคำอุทานเวลารู้สึกเจ็บ
- สุดยอดบะก๊วยเตด..แปลว่า.. สุดยอดเลย
- ก่าย..แปลว่า..เบื่อ
- เอาบ่ะ..แปลว่า..ลุยเลย
- หือ..แปลว่า..สม
- คึบะ..แปลว่า..แสดงความพอใจ ในผลลัพท์ที่ออกมา (เช่นเชียร์บอล หรือสมน้ำหน้า คนโดนต่อย)
- ซ่อบง่าว..แปลว่า..สมน้ำหน้า
- แอะ ..แปลว่า.. อุทานแสดงความรังเกียจความหมายคล้ายๆกับคำว่า อี๋
- กำตึ๊ก ..แปลว่า.. คำที่พูดออกมาแล้วสุดๆ ไม่สามารถต่อคำได้อีก
- ฮั้นลอ..แปลว่า..นั่นไง
- อั้นเกิ่น..แปลว่า..อย่างนั้นเลยเหรอ
- อี้ก่ะ ..แปลว่า.. อย่างนี้สิ
- เหน็ดน่อ ..แปลว่า..เก่งนี่ เป็นคำออกแนวประชดนะคะ
- เหน็ดใน..แปลว่า.. พวกคมในฝักหรือ น้ำนิ่งไหลลึกหรือถ้าใช้ด่าผู้หญิงก็จะหมายถึง แรดเงียบ ค่ะ
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
คำทักทายและถามไถ่ ที่ใช้บ่อยๆในภาษาเหนือ
สอนภาษาเหนือ แต้ พร้อมความหมาย
คลิปภาษาเหนือ คำอุทาน
ถ้าใครอยากพูดเป็นลองดูคลิปนี้นะคะ ว่าการออกเสียงเขาออกเสียงยังไง แต่ต้องขอบอกเอาไว้ก่อนนะคะ ว่า สำเนียงที่เราใช้สอนนั้น เป็นสำเนียงของทางเชียงรายค่ะ จริงๆแล้ว คำเมือง ในพื้นที่ภาคเหนือนั้น คำต่างๆจะพูดเหมือนกัน ความหมายคล้ายๆกัน แต่แตกต่างกันที่สำเนียงค่ะ และใครอยากรู้คำไหนเพิ่มเติมสามารถสอบถามกันเข้ามาได้นะคะ